วันอาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

มีวิธีการดูแลรักษาด้วยเหรอ


โดยมีข้อบังคับไว้เกี่ยวกับพืชอนุรักษ์ดังนี้
1.              ห้ามมิให้ผู้ใดนำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านพืชอนุรักษ์และซากของพืชอนุรักษ์ เว้นแต่ได้รับหนังสืออนุญาตจากอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย (มาตรา 29 ตรี)
2.              ผู้ใดประสงค์จะขยายพันธุ์เทียมพืชอนุรักษ์เพื่อการค้า ให้ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนสถานที่เพาะเลี้ยงพืชอนุรักษ์ต่อกรมวิชาการเกษตร (มาตรา 29 จัตวา)

เทียนหอมจากหม้อข้าวหม้อแกงลิงทำกันยังไง

อุปกรณ์
-เทียนที่เหลือใช้แล้วจำนวนมาก(เอาสีเดียวกัน)
-หม้อหรืออะไรก็ได้ที่ทำจากเหล็กหรือสแตนเลส
-ลูกหรือตัวของหม้อข้าวหม้อแกงลิงที่ตายแล้ว
 -น้ำหอม
วิธีทำ นำเทียนใส่ในภาชนะเหล็กหรืสแตนเลส  นำไปตั้งไฟจนเทียนหลอนเหลว
          หยอดน้ำหอมลงไปในหม้อข้าวหม้อแกงลิง1-2หยด   เทเทียนที่เหลวลงไปในหม้อข้าวหม้อแกงลิง  รอจนกว่าจะแข็งประมาณ2-3 ชั่วโมง



ขนมหม้อข้าวหม้อแกงลิงทำกันอย่างไรเหรอ

ส่วนผสมของขนมหม้อข้าวหม้อแกงลิง
1.)ข้าวเหนียว
2.)มะพร้าวขูด
3.)ธัญพืชอย่างละ 200 กรัม มัน เผือก กล้วย
4.)เกลือ
5.)น้ำตาล
6.)กระเปาะหม้อข้าวหม้อแกงลิง


ขั้นตอนในการทำขนมหม้อข้าวหม้อแกงลิง
แช่ข้าวเหนียวทิ้งไว้หนึ่งคืนหรือแช่ทิ้งไว้สองชั่วโมงด้วยน้ำอุ่น ในขณะที่แช่อยู่นั้นนำมะพร้าวมาคั่นให้ได้กะทิห้าถ้วย แล้วนำน้ำตาลทรายและเกลือมาผสมกับน้ำกะทิให้ได้รสชาติตามความต้องการ นำข้าวเหนียวแบ่งเป็นสามส่วน ส่วนที่ 1 นำข้าวเหนียวมาผสมกับมัน ส่วนที่ 2 นำข้าวเหนียวมาผสมกับเผือก ส่วนที่ 3 นำข้าวเหนียวมาผสมกับกล้วย แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากันทั้งสามส่วน นำกระเปาะที่ล้างสะอาดแล้ว กรอกใส่ข้าวเหนียวให้ได้เศษ1/2 แล้วนำกระเปาะกรอกข้าวเหนียวเสร็จแล้ว ก็นำกระเปาะมานึงทิ้งไว้ 20 นาที เมื่อครบ 20 นาทีแล้วนำใส่จานและรับประทานได้เลย


วันศุกร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เเล้วสรุปว่ามีผลงานแปรรูปออกมาอะไรบ้าง

1.ขนมหม้อข้าวหม้อแกงลิง  

                           




มีลูกผสมต่างสายพันธุ์ได้เเก่อะไรบ้างละ

 เช่น
N.  alisaputrana (N. burbidgeae × N. rajah)
N.  bauensis (N. gracilis × N. northiana)
N.  cantleyi (N. bicalcarata × N. gracilis)
N.  cincta (N. albomarginata × N. northiana)
N.  ferrugineomarginata (N. albomarginata × N. reinwardtiana)
N.  ghazallyana (N. gracilis × N. mirabilis)
N.  harryana (N. edwardsiana × N. villosa)
N.  hookeriana (N. ampullaria × N. rafflesiana)
N.  kinabaluensis (N. rajah × N. villosa)
N.  kuchingensis (N. ampullaria × N. mirabilis)

หม้อข้าวหม้อแกงลิงในประเทศไทยมีอะไรบ้างเหรออยากรู้จัง

      ในประเทศไทยพบว่าหม้อข้าวหม้อแกงลิงมีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ภาคกลาง, ภาคตะวันออก และภาคใต้ ชนิดของหม้อข้าวหม้อแกงลิงที่ถูกบันทึกไว้ว่าพบในประเทศไทยมีดังนี้ :
1.              N. anamensis
2.             N. ampullaria (ไทย: หม้อแกงลิง)
3.              N. globosa
4.             N. gracilis (ไทย: หม้อข้าวหม้อแกงลิง)
5.             N. mirabilis (ไทย: เขนงนายพราน)
6.             N. sanguinea (ไทย: หม้อแกงลิงเขา)
7.             N. smilesii (ไทย: น้ำเต้าพระฤๅษี)
8.             N. thorelii  (ไทย: น้ำเต้าลม)

วันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

มีวิธีการขยายพันธุ์ยังไงเหรอ

สามารถได้หลายวิธีแต่ขอยกมาแค่ 3วิธี  ได้แก่
1.การเพาะเมล็ด ให้โรยบนสแฟกนัมมอสส์ที่เปียกชื้นหรือบนวัสดุปลูกอื่นๆที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว เช่นขุยมะพร้าว, พีทมอสส์ ฯลฯ หลังฝักแตกออกให้รีบเพาะเมล็ดเพราะอัตรางอกจะลดลงเรื่อยๆเมื่อเก็บไว้นานเข้า ส่วนผสม 50:50 ที่ใช้ในการปลูกกล้วยไม้เช่นมอสส์กับเพอร์ไลต์ เป็นส่วนผสมที่เหมาะที่สุดในการเพาะเมล็ด เมล็ดจะใช้เวลาประมาณ 2 เดือนในการงอกเป็นต้นอ่อน และหลังจากนั้น 2 ปีหรือมากกว่านั้นจึงจะให้ดอก
2.การปักชำ ให้ทำปักชำในสแฟกนัมมอสส์ ถ้าความชื้นและแสงพอเพียงต้นไม้จะงอกรากใน 1-2 เดือนและจะเริ่มให้หม้อใน 6 เดือน
3.การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ในปัจจุบันเป็นการเพาะเลี้ยงในเชิงการค้าซึ่งได้ช่วยลดจำนวนต้นไม้ที่ถูกเก็บออกจากป่ามาขายได้เป็นอย่างดี แต่อย่างไรก็ดี พืชหายากจำนวนมากยังถูกเก็บออกมาขาย เป็นเพราะราคาที่แพงของมันนั่นเอง หม้อข้าวหม้อแกงลิงถูกบรรจุในรายชื่อพืชที่ถูกคุกคามหรือเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของไซเตสในบัญชี 1 และ 2

หม้อข้าวหม้อแกงลิงมีอาวุธด้วยเหรอ

หม้อข้าวหม้อแกงลิงนั้นถูกจัดให้มีบรรพบุรุษร่วมกับพืชที่มีกับดักแบบกระดาษเหนียว ซึ่งแสดงว่าหม้อข้าวหม้อแกงลิงบางชนิดอาจมีการพัฒนามาจากกับดักแบบกระดาษเหนียวที่สูญเสียเมือกเหนียวไปกับดักเกิดขึ้นที่ปลายสายดิ่งหรือมือจับซึ่งพัฒนามาจากการยืดออกของเส้นกลางใบ โดยมากเป็นรูปทรงกลมหรือรูปหลอด เป็นกระเปาะ มีของเหลวอยู่ภายในมีลักษณะเป็นน้ำหรือน้ำเชื่อม ปากหม้อที่เป็นทางเข้าของกับดักอยู่ด้านบนของหม้อ เป็นส่วนประกอบที่เรียกว่าเพอริสโตม ซึ่งมีลักษณะลื่น ฉาบไปด้วยขี้ผึ้งและเต็มไปด้วยสีสันที่ดึงดูดเหยื่อเข้ามาและเสียหลักลื่นหล่นลงไปในหม้อ ส่วนล่างของหม้อจะมีต่อมสำหรับดูดซึมสารอาหารจากเหยื่อที่จับได้ ส่วนบริเวณด้านบนจะมีผิวลื่นเป็นมันใช้เพื่อป้องกันเหยื่อหนีรอดไปได้ มีฝาปิดอยู่ที่ด้านบนของกับดักป้องกันไม่ให้น้ำฝนตกลงไปในหม้อ ใต้ฝามีต่อมน้ำต้อยไว้เพื่อดึงดูดเหยื่ออีกทางหนึ่ง

รูปแบบของกับดักเป็นอย่างไรเหรอ

รูปแบบทั้งหมดของกับดักในพืชกินสัตว์ดูที่พืชกินสัตว์
พืชในสกุลหม้อข้าวหม้อแกงลิงเป็นพืชกินสัตว์ที่มีกับดักแบบหลุมพราง (Pitfall traps, pitcher) เหมือนกับพืชในสกุล Sarracenia, Darlingtonia, Heliamphora และ Cephalotus และการวิวัฒนาการของกับดักสันนิษฐานว่าการจากการคัดเลือกภายใต้แรงกดดันในระยะเวลายาวนาน เช่น มีสารอาหารในดินน้อย เป็นต้น ทำให้เกิดการสร้างใบรูปหม้อขึ้น และอาจเกิดจากแมลงซึ่งเป็นเหยื่อของมันหาอาหารมีพฤติกรรม, บิน, คลาน และไต่ ทำให้เกิดการพัฒนาจากโพรงช่องว่างที่เกิดจากใบประกบกันกลายหม้อซึ่งเป็นกับดักแบบหลุมพราง

ใครรู้บ้างว่าหม้อข้าวหม้อเเกงลิงกินอะไร

เหยื่อของหม้อข้าวหม้อแกงลิงโดยปกติแล้วจะเป็นแมลง แต่บางชนิดที่มีหม้อขนาดใหญ่ (N. rajah, N. rafflesiana เป็นต้น) บางครั้งเหยื่ออาจจะเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก เช่น หนู และสัตว์เลื้อยคลาน[19][20] ดอกของหม้อข้าวหม้อแกงลิงนั้น ช่อดอกเป็นแบบช่อกระจะหรือช่อแยกแขนง จะแยกเพศกันอย่างชัดเจน แบบหนึ่งต้นหนึ่งเพศ ฝักเป็นแบบแคปซูล 4 กลีบและแตกเมื่อแก่ ภายในประกอบไปด้วยเมล็ด 10 ถึง 60 เมล็ดหรือมากกว่านั้น เมล็ดแพร่กระจายโดยลม